ตรุษจีนในประเทศไทย
วันจ่าย หรือ ตื่อเส็ก คือวันก่อนวันสิ้นปี เป็นวันที่ชาวไทยเชื้อสายจีนจะต้องไปซื้ออาหารผลไม้และเครื่องเซ่นไหว้ต่างๆ ก่อนที่ร้านค้าทั้งหลายจะปิดร้านหยุดพักผ่อนยาว ในตอนค่ำจะมีการจุดธูปอัญเชิญเจ้าที่ หรือ ตี่จู๋เอี๊ย ให้ลงมาจากสวรรค์เพื่อรับการสักการะบูชาของเจ้าบ้าน หลังจากที่ได้ไหว้อัญเชิญขึ้นสวรรค์เมื่อ 4 วันที่แล้ว
วันไหว้ คือ วันสิ้นปี จะมีการไหว้ 3 ครั้ง คือ
ตอนเช้ามืดจะไหว้ ไป๊เล่าเอี๊ย เป็นการไหว้เทพเจ้าต่างๆ เครื่องไหว้คือ เนื้อสัตว์ 3 อย่าง (ซาแซ ได้แก่ หมูสามชั้นต้ม ไก่ เป็ด ปรับเปลี่ยนเป็นชนิดอื่นได้ หรือมากกว่านั้นได้จนเป็นเนื้อสัตว์ห้าชนิด) เหล้า น้ำชา และกระดาษเงินกระดาษทอง
ตอนสาย จะไหว้ไป๊เป้บ๊อ คือการไหว้บรรพบุรุษ พ่อแม่ญาติพี่น้องที่ถึงแก่กรรมไปแล้ว เป็นการแสดงความกตัญญูตามคติจีน การไหว้ครั้งนี้จะไหว้ไม่เกินเที่ยง เครื่องไหว้จะประกอบด้วย ซาแซ อาหารคาวหวาน (ส่วนมากจะทำตามที่ผู้ที่ล่วงลับเคยชอบ) รวมทั้งการเผากระดาษเงินกระดาษทอง เสื้อผ้ากระดาษเพื่ออุทิศแก่ผู้ล่วงลับ หลังจากนั้น ญาติพี่น้องจะมารวมกันรับประทานอาหารที่ได้เซ่นไหว้ไปเป็นสิริมงคล และถือเป็นเวลาที่ครอบครัวหรือวงศ์ตระกูลจะรวมตัวกันได้มากที่สุด จะแลกเปลี่ยนอั่งเปาหลังจากรับประทานอาหารร่วมกันแล้ว
ตอนบ่าย จะไหว้ ไป๊ฮ้อเฮียตี๋ เป็นการไหว้ผีพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว เครื่องไหว้จะเป็นพวกขนมเข่ง ขนมเทียน เผือกเชื่อมน้ำตาล กระดาษเงินกระดาษทอง พร้อมทั้งมีการจุดประทัดเพื่อไล่สิ่งชั่วร้ายและเป็นสิริมงคล
วันขึ้นปีใหม่ หรือ วันเที่ยว หรือ วันถือ คือวันที่หนึ่งของเดือนที่หนึ่งของปี (ชิวอิก) วันนี้ ชาวจีนจะถือธรรมเนียมโบราณที่ยังปฏิบัติสืบต่อกันมาถึงปัจจุบัน คือ ไป๊เจีย คือ การไปไหว้ขอพรและอวยพรจากญาติผู้ใหญ่และผู้ที่เคารพรัก โดยนำส้มสีทองไปมอบให้ เหตุที่ให้ส้มก็เพราะออกเสียงภาษาจีนแต้จิ๋วว่า "กา" ซึ่งไปพ้องกับคำว่าทอง เพราะฉะนั้นการให้ส้มจึงเหมือนนำโชคดีไปให้ จะมอบส้มจำนวน 4 ผล ห่อด้วยผ้าเช็ดหน้าของผู้ชาย เหตุที่เรียกวันนี้ว่าวันถือคือ เป็นวันที่ชาวจีนถือว่าเป็นสิริมงคล งดการทำบาป จะมีคติถือบางอย่าง เช่น ไม่พูดจาไม่ดีต่อกัน ไม่ทวงหนี้กัน ไม่จับไม้กวาด และจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าใหม่แล้วออกเยี่ยมอวยพรและพักผ่อนนอกบ้าน เป็นต้น
วันตรุษจีนในปฏิทินสุริยคติ
ปีชวด
19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539
7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
25 มกราคม พ.ศ. 2563
ปีฉลู
7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540
26 มกราคม พ.ศ. 2552
12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
ปีขาล
28 มกราคม พ.ศ. 2541
14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565
ปีเถาะ
16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
22 มกราคม พ.ศ. 2566
ปีมะโรง
5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543
23 มกราคม พ.ศ. 2555
10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567
ปีมะเส็ง
24 มกราคม พ.ศ. 2544
10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
29 มกราคม พ.ศ. 2568
ปีมะเมีย
12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545
31 มกราคม พ.ศ. 2557
17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2569
ปีมะแม
1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546
19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2570
ปีวอก
22 มกราคม พ.ศ. 2547
8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
26 มกราคม พ.ศ. 2571
ปีระกา
9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548
28 มกราคม พ.ศ. 2560
13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2572
ปีจอ
29 มกราคม พ.ศ. 2549
16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2573
ปีกุน
18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
23 มกราคม พ.ศ. 2574
ปีชวด
19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539
7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
25 มกราคม พ.ศ. 2563
ปีฉลู
7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540
26 มกราคม พ.ศ. 2552
12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
ปีขาล
28 มกราคม พ.ศ. 2541
14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565
ปีเถาะ
16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
22 มกราคม พ.ศ. 2566
ปีมะโรง
5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543
23 มกราคม พ.ศ. 2555
10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567
ปีมะเส็ง
24 มกราคม พ.ศ. 2544
10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
29 มกราคม พ.ศ. 2568
ปีมะเมีย
12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545
31 มกราคม พ.ศ. 2557
17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2569
ปีมะแม
1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546
19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2570
ปีวอก
22 มกราคม พ.ศ. 2547
8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
26 มกราคม พ.ศ. 2571
ปีระกา
9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548
28 มกราคม พ.ศ. 2560
13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2572
ปีจอ
29 มกราคม พ.ศ. 2549
16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2573
ปีกุน
18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
23 มกราคม พ.ศ. 2574
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]
<< หน้าแรก